AUSTRALIA : Landscape
ภูมิประเทศ
ประเทศออสเตรเลีย (Australia / Commonwealth of Australia) จัดเป็นทวีปเล็กที่สุดในโลก ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกตามขนาดของพื้นที่ทั้งหมด (7,617,930 ตารางกิโลเมตร) และเนื่องจากขนาดของพื้นที่และการตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว ออสเตรเลียจึงมักถูกขนานนามว่า "ทวีปเกาะ" และบางครั้งถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ออสเตรเลีย ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก อินโด-ออสเตรเลีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก ถูกแยกออกจากทวีปเอเชียโดยทะเลอาราฟูรา (Arafura) และทะเลติมอร์ (Timor) ที่มีแนวปะการังทะเลทอดยาวอยู่นอกชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์ และมีทะเลแทสมัน (Tasman) อยู่ระหว่างประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลีย มีหลากหลาย อาทิ The Great Barrier Reef แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก สวรรค์ของนักท่องเที่ยวและนักเรียนที่มาเรียนที่ออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือและขยายไปยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร, ภูเขาออกัสตัส (Mount Augustus) เป็นหินใหญ่ก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในออสเตรเลียตะวันตกที่ความสูง 2,228 เมตร, Mount Kosciuszko เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมี ยอดเขามอว์สัน ที่สูง 2,745 เมตร บนดินแดนภายนอกของออสเตรเลียอันห่างไกลของเกาะเฮิร์ดและในดินแดนแอนตาร์กติกของออสเตรเลีย ภูเขาแมคคลินต็อกและภูเขาเมนซีส์ที่ 3,492 เมตร และ 3,355 เมตร ตามลำดับ
ภาคตะวันออกของออสเตรเลียมี เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) ที่วิ่งขนานไปกับ ชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาธ์เวลส์และบริเวณกว้างใหญ่ของวิกตอเรีย
เนื่องด้วยขนาดที่กว้างขวางของประเทศออสเตรเลีย ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ โดยมีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันออก มีทะเลทรายที่แห้งแล้งในภาคกลาง
พื้นที่ขนาดใหญ่ของออสเตรเลียทำให้มีภูมิประเทศที่หลากหลาย โดยมีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออก และมีทะเลทรายอยู่ตรงกลาง ทะเลทรายหรือดินแดนกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid land) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เอ้าท์แบค (Outback) เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนทั้งหมด
โขดหินอุลูรู (Uluru; Pitjantjatjara: Uluṟu) หรือเรียกอีกอย่างว่า"หินแอร์ส"(Ayers Rock) ชื่ออุลูรูเป็นชื่อทางการซึ่งใช้ในปัจจุบันเป็นภาษาอะบอริจินีโดยเฉพาะภาษาพิทแชนชาชารา ส่วนชื่อหินแอร์สนั้นตั้งตามชื่อ เซอร์เฮนรี แอร์ส นายกรัฐมนตรีของเซาธ์ออสเตรเลีย ซึ่งตั้งไว้ในปี ค.ศ. 1873 โขดหินอุลูรู ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย เป็นโขดหินขนาดใหญ่ที่โผล่จากพื้นดินโดดๆซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลกว่า 100 เมตร มีขนาดความสูง 348 เมตร เส้นรอบวงที่ฐานวัดได้ 9 กิโลเมตร จัดได้ว่าเป็นโขดหินที่ใหญ่ทีสุดในโลก ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงเป็นหินอาร์โคส มีปริมาณแร่ฟันม้าหรือแร่เฟลด์สปาร์อยู่มาก มีสภาพการกัดเซาะของฝนและลมตามธรรมชาติ มีถ้ำและแอ่งน้ำ บริเวณผิวนอกของหินโดนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้เกินผิวนอกแตกหลุดออกเป็นสะเก็ดและร่วมลงมาที่พื้นทับถมกันเป็นกำแพงภูเขาขนาดใหญ่ สีสันของหินเปลี่ยนแปลงตามเวลาซึ่งในแต่ละช่วงมีสีแตกต่างกัน ในตอนกลางวันแสงอาทิตย์เจิดจ้าทำให้มีแดง แต่พอตกเย็นสีสันจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
ภูมิทัศน์ทางตอนเหนือของประเทศที่เรียกว่า the Top End และ the Gulf Country ด้านหลัง the Gulf of Carpentaria ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน ประกอบด้วย ป่าไม้, ทุ่งหญ้า และทะเลทราย ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมีหน้าผาหินทราย และ ซอกเขา ของ คิมเบอร์ลีและ ด้านล่างเป็น Pilbara ไปทางใต้ของบริเวณเหล่านี้และเข้าไปในแผ่นดิน จะมีพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ามากขึ้น ที่มีชื่อว่า the Ord Victoria Plain และ the Western Australian Mulga shrublands ที่ใจกลางของประเทศ มี พื้นที่สูงของภาคกลางออสเตรเลีย; ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศรวมถึงในแผ่นดินซิมป์สัน, Tirari และ Sturt Stony, กิบสัน, Great Sandy, Tanami และทะเลทราย Great Victoria ที่มีที่ราบ Nullarbor ที่มีชื่อเสียงบนชายฝั่งตอนใต้
ออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุด ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีในพื้นที่ทวีปน้อยกว่า 500 มม. ความหนาแน่นของประชากรคือ 3.2 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอากาศอบอุ่น
ออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่
-
รัฐนิวเซาท์เวลส์
-
รัฐควีนส์แลนด์
-
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
-
รัฐแทสเมเนีย
-
รัฐวิกตอเรีย และ
-
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
นอกจากนี้ยังมีดินแดนหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (เขตเมืองหลวง) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [74]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ
แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า "governor" และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)
สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้ง Dipole และ El Niño–Southern Oscillation จากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ความแห้งแล้งตามฤดู และ ระบบความดันต่ำในเขตร้อนตามฤดูกาลที่ผลิตพายุไซโคลนในภาคเหนือของออสเตรเลีย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจากปีต่อปี พื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของประเทศมีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน, ส่วนใหญ่เป็นฝนฤดูร้อน (มรสุม) มุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่จำนวนมากของตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้ง แทสเมเนีย) เป็นเมืองหนาว
ภูมิอากาศ
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีทุกฤดูกาล คุณสามารถทำกิจกรรมได้เกือบทุกชนิดที่นี่และในทุกช่วงของปี เกือบทั่วประเทศมีสี่ฤดูกาล และในเขตร้อนชื้นทางเหนือมีฤดูฝนและฤดูแล้ง
- ฤดูร้อน เริ่มต้นจากเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ดีเยี่ยมสำหรับการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ว่ายน้ำที่ชายหาดในซิดนีย์ หรือเดินขึ้นเขาบนเส้นทาง Overland Track ในรัฐแทสเมเนีย
- ฤดูใบไม้ร่วง เริ่มต้นจากเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ช่วงนี้ใบไม้จะเป็นสีแดงเพลิงในแคนเบอร์ราพร้อมกับการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ Formula 1 Grand Prix ในเมลเบิร์น
- ฤดูหนาว เริ่มต้นในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเล่นสกีหิมะในเทือกเขา Australian Alps หรือท่องเที่ยวพักผ่อนรับแสงอาทิตย์แห่งฤดูหนาว ดำสนอร์กเกิลในน้ำทะเลอันอบอุ่นที่แนวปะการัง Great Barrier Reef หรือขับรถโฟร์วีลผ่านเข้าไปในทะเลทราย Simpson Desert ในรัฐออสเตรเลียใต้
- ฤดูใบไม้ผลิ เริ่มจากเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน เป็นช่วงที่เหมาะสมกับการออกทะเลชมวาฬ
*ที่มา www.wikipedia.org และ http://www.australia.com