วีซ่านักเรียนออสเตรเลีย Student VISA, AUSTRALIA
AdWise Education Admin
Updated : May 2024
การเตรียมหลักฐานเพื่อยื่นขอวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย
ข้อมูลที่ควรทราบ
-
สามารถยื่นวีซ่าล่วงหน้าก่อนเปิดเรียนนานแค่ไหนก็ได้ แต่การยื่นล่วงหน้านานมากเกินไปทางเจ้าหน้าที่อาจพิจารณาว่าเป็นเคสไม่เร่งด่วน ทาง Adwise แนะนำให้ยื่นวีซ่าล่วงหน้า 4 เดือน ก่อนวันกำหนดเปิดเรียน
-
ระยะเวลายื่นวีซ่า
-
สถิติระยะเวลารอผลวีซ่านักเรียนจากทั่วโลก เฉลี่ยประมาณ 28 – 80 วัน
-
ส่วนของประเทศไทยมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา ไม่สามารถระบุเวลาแน่นอนล่วงหน้าได้ (ข้อมูลจากทาง Adwise ระยะเวลารอวีซ่าสำหรับใบสมัครที่ยื่นในไทย เฉลี่ย 1-12 สัปดาห์)
-
วีซ่านักเรียนออสเตรเลียยื่นผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด และไม่มีระบบคิวจึงไม่สามารถกำหนดเวลาแน่นอนว่าจะได้รับผลวีซ่าภายในกี่วัน และระยะเวลาพิจารณาวีซ่าในแต่ละช่วงมีระยะเวลารอคอยไม่เท่ากัน
-
-
เมื่อวีซ่าผ่านแล้ว สามารถเดินทางได้เลย แต่ยังไม่สามารถทำงาน Part-Time ได้จนกว่าจะเปิดเรียนวันแรก จำนวนชั่วโมงที่สามารถทำงาน Part-Time ได้คือ 48 ชั่วโมง/ 2 สัปดาห์ (นับจากวันจันทร์ ถึงคืนวันอาทิตย์) และสามารถทำงานได้เต็มเวลาในช่วงปิดภาคเรียนตามเงื่อนไขที่กำหนด ยกเว้นเงื่อนไขการทำงานพิเศษในบางสาขาอาชีพ หรือวีซ่าผู้ติดตามนักเรียนที่เรียนระดับปริญญาโทขึ้นไป
-
เงื่อนไขการทำงาน ชั่วโมงทำงานอาจมีการปรับเปลี่ยน นักเรียนสามารถติดต่อพี่ AdWise เพื่ออัพเดทข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องได้ตลอดเวลาค่ะ
-
ขั้นตอนการสมัครเรียนและยื่นวีซ่าออสเตรเลีย :
1. เลือกคอร์สเรียน - ตามเป้าหมายของน้องๆ โดยพี่ๆ AdWise จะให้คำแนะนำ และข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจสมัครเรียน
แนะนำให้เตรียมเรซูเม่ ประวัติส่วนการเรียน การฝึกอบรม เรียนพิเศษ การทำงาน หลักสูตรที่สนใจ งบประมาณ ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ
และเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการเรียนต่อให้พร้อม เพื่อทำ study plan + course and visa application timeline + Budget ให้อย่างเหมาะสม
2. สมัครเรียน เพื่อขอใบตอบรับ
เอกสารที่ใช้สมัครเรียนมีดังนี้
-
สำเนา Passport
-
สำเนา Transcript การศึกษาระดับสูงสุด เป็นภาษาอังกฤษ
-
สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
-
จดหมายรับรองงาน เป็นภาษาอังกฤษ (ถ้าเรียนจบแล้วต้องมี)
-
Resume เป็นภาษาอังกฤษ ให้ระบุเดือน ปีที่เริ่มเรียน หรือเริ่มงาน และระบุเดือน ปีที่เรียนจบ
-
หรือลาออกให้ครบ
-
ประวัติการเรียน ให้ระบุประวัติการเรียนทุกคอร์ส ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท เรียนพิเศษต่างๆ
-
ประวัติการทำงานทุกงานที่เคยทำ งานประจำ ฝึกงาน พาร์ทไทม์ ฟูลไทม์ ฟรีแลนซ์
-
งานที่ทำทั้งหมดใส่ใส่เรียงตามลำดับ (ไม่ให้มีช่วงเว้นว่างเกิน 3 เดือน – หากมีช่วงเว้นว่าง ให้ระบุตามจริง)
-
ถ้ามีเอกสาร เช่น ใบเกรด หนังสือรับรองงานเก่า ให้อ้างอิงชื่อหน่วยงาน ตำแหน่ง วันเดือนปีตามเอกสาร
-
ข้อมูลที่อยู่ปัจจุบัน, เบอร์ติดต่อ, email
-
ข้อมูลผู้ติดต่อฉุกเฉิน (ชื่อ-นามสกุล, ระบุความสัมพันธ์, เบอร์ติดต่อ, email)
หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยบางแห่ง อาจมีข้อกำหนดเฉพาะ เช่น
-
นักเรียนต้องจ่ายค่าสมัครเรียนก่อน และไม่สามารถขอคืนเงินได้ (Non Refund)
-
ผลสอบภาษาอังกฤษ หรือต้องสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตรงกับสถาบัน
-
จดหมายชี้แจงวัตถุประสงค์เข้าเรียน (GS Letter, Statement of Purpose Letter)
-
เอกสารการเงิน
การส่งเอกสาร
-
สแกนไฟล์ใส่ share drive แล้วแชร์ลิ้งค์ หรือ ส่งไฟล์สแกนเอกสาร และส่งอีเมล study@adwise-education.com; adwise1.edu@gmail.com
-
ใส่ subject e-mail ด้วย "เอกสารสมัครเรียน - ชื่อจริง - ชื่อเล่น"
-
ตัวอย่าง Subject: เอกสารสมัครเรียน – Darin – Joy
3. เตรียมเอกสารอื่น ๆ / ส่งแปล (เอกสารที่เป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นอังกฤษทุกฉบับ)
4. รอใบตอบรับจากโรงเรียน (Letter Offer / Letter of Acceptance) ใช้เวลาดำเนินการ 2 – 10 วันทำการ
เมื่อได้รับใบตอบรับจากโรงเรียนแล้วจึงเตรียมเอกสารสำหรับยื่นวีซ่าอื่นๆ
5. เตรียมเอกสารวีซ่าที่เหลือให้ครบถ้วน
6. ชำระค่าเรียน ค่าประกันสุขภาพ และค่าธรรมเนียมต่างๆ (ทาง AdWise จะสรุปยอดให้อีกครั้งก่อนชำระเงิน) ทาง AdWise บริการฟรี ไม่มีชาร์จค่าดำเนินการเพิ่มเติมค่ะ
7. รอรับ COE เสมือนใบเสร็จค่าเรียนในการลงทะเบียนจ่ายค่าเรียนครั้งแรก ใช้สำหรับยื่นวีซ่าจากโรงเรียน (เอกสาร COE - Confirmation of Enrolment) ใช้เวลาดำเนินการ 2-10 วันทำการ
8. ยื่นวีซ่า Online - ทาง AdWise จะดำเนินการยื่นวีซ่า Online แทนให้
9. ตรวจสุขภาพ – สามารถตรวจสุขภาพก่อนยื่นวีซ่าได้ ทาง AdWise จะกรอกข้อมูลเข้าระบบเพื่อขอใบส่งตัวให้ หรือยื่นวีซ่าก่อนแล้วจะได้ใบส่งตัวอัตโนมัติ
HAP Letter ต้องไปตรวจภายใน 28 วันนับตั้งแต่ได้ใบส่งตัว ส่วนใหญ่ต้องทำการนัดหมายกับโรงพยาบาลล่วงหน้า
-
ต้องแจ้ง ถ้าเคยเดินทางไปออสเตรเลีย ไม่ว่าจะด้วยวีซ่าใดๆ เพราะต้องกรอกข้อมูลในใบส่งตัวเพื่อตรวจสุขภาพเพื่อทำใบส่งตัว
-
อาจมีข้อยกเว้นกรณีที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เช่น เคยได้รับการตรวจสุขภาพสำหรับยื่นวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลียมาแล้วไม่เกิน 1 ปี, ลงทะเบียนเรียนเพื่อขอวีซ่านักเรียนระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
10. รอรับใบส่งตัวสำหรับไปทำ Bio-metrics ที่ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลีย VFS (ถ่ายรูปและสแกนลายนิ้วมือ) โดยนักเรียนต้องไปด้วยตนเอง ภายใน 14 วัน นับจากยื่นวีซ่า โดยต้องทำนัดล่วงหน้า ซึ่งทาง AdWise เป็นผู้ดำเนินการนัดหมายให้ ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน VFS (ประมาณ 450 – 800 บาท) นักเรียนชำระเป็นเงินสดด้วยตัวเองที่ศูนย์ยื่นวีซ่าฯ
11. ระหว่างรอวีซ่า สถานทูตอาจโทรหาเพื่อสัมภาษณ์ หรือขอเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม หรือเช็คเอกสารการเงิน ติดต่อที่ทำงานของนักเรียนเพื่อสอบถามข้อมูล (case by case)
12. รอผลวีซ่า เมื่อได้รับวีซ่าแล้ว ต้องตรวจเช็ความถูกต้องทุกครั้ง
13. เตรียมตัวเดินทาง / ตั๋วเครื่องบิน / จัดหาที่พัก และรับการปฐมนิเทศก่อนเดินทางจากทีมงาน AdWise
14. เมื่อเดินทางถึงออสเตรเลียแล้ว ทาง AdWise ยินดีบริการ (ฟรี) สมัครเลข TFN (Tax fil Number) ซึ่งเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรสำหรับนักเรียนที่ต้องการทำงานพาร์ทไทม์
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่พิจารณาปฏิเสธวีซ่าก่อนที่ผู้สมัครไปตรวจสุขภาพ หรือก่อนทำ Bio-metrics ก็สามารถทำได้ แต่จะไม่สามารถอนุมัติวีซ่าให้ผ่านได้ถ้าผู้สมัครยังไม่ดำเนินการตรวจสุขภาพ และทำ Bio-metrics ให้ครบถ้วน
เอกสารของนักเรียน (อายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์) :
เอกสารของทางราชการที่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ใบเกิด ใบมรณะ สามารถขอคัดสำเนาฉบับภาษาอังกฤษได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
เอกสารที่สามารถขอฉบับภาษาอังกฤษได้จากอำเภอ ข่าวดีบอกต่อ รับรองเอกสารการทะเบียน 27 ประเภท ไม่ต้องเสียเวลาแปลเอกสารก่อนอีกต่อไป - กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (mfa.go.th)
1. สำเนา Passport เล่มปัจจุบัน **ต้องมีอายุเหลือเกิน 6 เดือนนับจากวันที่จะเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย
ขอหน้าแรก และ ทุกหน้าที่มีวีซ่าและตราประทับเดินทางเข้าออก รวม 1 ไฟล์
2. ที่อยู่ปัจจุบัน, e-mail, เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
3. Resume เป็นภาษาอังกฤษ ให้ระบุเดือน ปีที่เริ่มเรียน หรือเริ่มงาน และระบุเดือน ปีที่เรียนจบหรือลาออกให้ครบ
-
ส่วนของประวัติการเรียน ให้ระบุประวัติการเรียนทุกคอร์ส ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท เรียนพิเศษต่างๆ และประวัติการทำงานทุกงานที่เคยทำ งานประจำ ฝึกงาน พาร์ทไทม์ ฟูลไทม์ ฟรีแลนซ์ งานที่ทำทั้งหมดใส่ใส่เรียงตามลำดับ (ไม่ให้มีช่วงเว้นว่างเกิน 3 เดือน – หากมีช่วงเว้นว่าง ให้ระบุตามจริง)
-
ถ้ามีเอกสาร เช่น ใบเกรด หนังสือรับรองงานเก่า ให้อ้างอิงชื่อหน่วยงาน ตำแหน่ง วันเดือนปีตามเอกสาร
4. สำเนา Passport เล่มเก่าทุกเล่มที่มี ขอหน้าแรก และ ทุกหน้าที่มีวีซ่าและตราประทับเดินทางเข้าออก แยกไฟล์เป็นเล่มๆ
5. สรุปประวัติการเดินทางต่างประเทศ ย้อนหลัง 10 ปี (ประเทศที่ไป, วัน-เดือน-ปีเดินทางไปและกลับ, วัตถุประสงค์ที่ไป) พิมพ์แยกลงไฟล์เวิร์ด
6. กรณีเคยขอวีซ่าไปออสเตรเลียทุกประเภทต้องแจ้งด้วย ได้วีซ่า หรือ ถูกปฏิเสธ ขอจดหมายวีซ่าเดิม หรือ จดหมายปฏิเสธ หากไม่มีเอกสารเก่า ให้พิมพ์อธิบาย เดือนปีที่ยื่น เหตุผลที่โดนปฏิเสธ แจ้งโดยละเอียด
7. กรณีมีประวัติขอวีซ่าประเทศอื่นไม่ผ่านให้แจ้งด้วย ขอจดหมายวีซ่าเดิม หรือ จดหมายปฏิเสธ
หากไม่มีเอกสารเก่า ให้พิมพ์อธิบาย เดือนปีที่ยื่น เหตุผลที่โดนปฏิเสธ แจ้งโดยละเอียด
8. หนังสือรับรองการทำงาน (หรือ สลิปเงินเดือน / ใบเสียภาษี / ทะเบียนการค้า เป็นต้น) ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ
ต้องแจ้งประวัติการทำงานย้อนหลัง อย่างน้อย 5 ปี
-
ชื่อบริษัท หรือ องค์กรที่ทำ
-
อธิบาย ประเภทธุรกิจของบริษัทว่าทำเกี่ยวกับอะไร
-
ที่อยู่ เบอร์โทร บริษัท
-
ชื่อและนามสกุล หัวหน้างานหรือบุคคลอ้างอิงในบริษัท
-
วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มงาน และวัน-เดือน-ปี ที่สิ้นสุดงาน
-
ตำแหน่งงานที่ทำ
-
อธิบายงานที่ทำโดยย่อ
9. ประวัติการศึกษา
-
Transcript ผลการเรียน (ทั้งที่เรียนจบ และเรียนไม่จบ)
-
ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษาสูงสุดที่จบ
-
ถ้าเรียนหลักสูตรต่อเนื่อง ปวส. ต่อ ปริญญาตรี ต้องยื่นผลการเรียน ปวส ด้วย (เป็นภาษาอังกฤษ)
-
ใบประกาศนียบัตร + หลักสูตรเรียนพิเศษ ฝึกอบรมเพิ่มเติมทั้งหมด (ถ้ามี) เช่น เรียนพิเศษภาษาอังกฤษ คอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ
10. ผลสอบภาษาอังกฤษที่ผ่านเกณฑ์ ตามเงื่อนไข ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรและสถาบันที่สมัครเรียน
-
ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี เช่น IELTS, TOEFL iBT, PTE, OET, Cambridge English: Advance (Certificate in
Advanced English)
11. สำเนาบัตรประชาชน
12. สำเนาทะเบียนบ้าน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
13. สำหรับผู้ชาย ต้องมีเอกสารเกณฑ์ทหาร สำเนา สด. 43 หรือ 8
14. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
15. หลักฐานสถานะทางครอบครัว (ถ้ามี) ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า สูติบัตรบุตร เอกสารของสามีหรือภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
16. จดหมายแนะนำตัว GS Letter ภาษาอังกฤษ จดหมายนี้สำคัญมาก เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการขอวีซ่าไปเรียนครั้งนี้ ทำไมเลือกเรียนคอร์สนี้ สถาบันนี้ เมืองนี้ ทำไมไม่เรียนที่ไทย เป้าหมายหลังเรียนจบ เพื่อประกอบการพิจารณา
17. ชื่อ-นามสกุล / วัน เดือน ปีเกิด / ประเทศที่พักอาศัยปัจจุบัน – ของสมาชิกครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง ทุกคน (เป็นภาษาอังกฤษ)
18. ชื่อ-นามสกุล / วัน เดือน ปีเกิด / ประเทศที่พักอาศัยปัจจุบัน (กรณีมีประวัติ มีคู่สมรส) ของคู่สมรส และลูก
19. ชื่อ-นามสกุล ผู้สนับสนุนการเงินในการไปศึกษาต่อ (สปอนเซอร์) / จำนวนเงินที่มี / ระบุชื่อธนาคารที่ฝากเงิน
20. กรณีมีงานรองรับหลังเรียนจบ ขอหลักฐานดังนี้
-
ใบตอบรับเข้างาน หรือรายละเอียดหลักฐาน
-
ชื่อบริษัท หรือ องค์กรที่ทำ เป็นภาษาอังกฤษ
-
อธิบาย ประเภทธุรกิจของบริษัท ว่าทำเกี่ยวกับอะไร
-
ที่อยู่ เบอร์โทร บริษัท
-
ชื่อ และนามสกุล หัวหน้างาน หรือบุคคลอ้างอิงในบริษัท
-
วันเดือนปี ที่เริ่มงาน
-
ตำแหน่งงานที่ทำ (ภาษาอังกฤษ)
-
อธิบายงานที่จะต้องทำโดยย่อ
21. เอกสารการเงิน
เอกสารการเงิน – วีซ่านักเรียน
ผู้สมัครวีซ่านักเรียนที่สมัครเรียนในสถาบันหรือโรงเรียนที่ต้องยื่นเอกสารการเงิน หรือกรณีที่สถานทูตเรียกดูเอกสารการเงิน
การเตรียมเอกสารทางการเงิน
หลักฐานการเงิน มี 2 ประเภท (ยื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือยินดีจะยื่นทั้ง 2 แบบก็ได้) ดังนี้
1. หลักฐานการเงินเพียงพอค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 1 ปีแรก (หรือน้อยกว่านั้น ตามระยะเวลาที่ขอวีซ่า ทั้งนี้
วีซ่าจะนานครอบคลุมระยะเวลาของหลักสูตรที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด) เป็นค่ากินอยู่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเล่าเรียนที่ค้างชำระ และค่าเรียนของผู้ติดตามได้แก่ลูกที่อายุระหว่าง 5 – 17 ปี
หรือ
2. หลักฐานว่าผู้ปกครองหรือสามีหรือภรรยาของผู้สมัครวีซ่านักเรียน มีรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า AUD 87,856 ถ้ามีสมาชิกครอบครัวสมัครวีซ่าติดตามไปด้วย ยอดรายได้ต้องเป็น AUD 102,500 ต่อปี (รายได้ของตนเอง หรือคู่สมรส หรือผู้ปกครอง หรือรวมกันหลายบัญชีหลายคน)
หลักฐานต้องมีความน่าเชื่อถือ เช่นหลักฐานการเสียภาษีตามกฎหมาย (สมุดบัญชีธนาคาร หรือ Statement จากธนาคารที่มียอดเงินเดือนหรือรายได้อื่นๆเข้าทุกเดือน ไม่สามารถใช้ยื่นเป็นหลักฐานได้)
ข้อยกเว้น - เอกสารรับรองการเงินอื่นๆ เช่น an Acceptance Advice of Secondary Exchange Students form for
secondary exchange students only, หรือ a letter of support from Department of Foreign Affairs and Trade or Department of Defence
ต้องมีเงินเท่าไหร่ สำหรับค่าครองชีพในออสเตรเลีย 1 ปี
ต้องมีเงินสำหรับค่าใช้จ่าย 3 หัวข้อ
1. ค่าครองชีพตามระยะเวลาที่ขอวีซ่า ถ้าวีซ่ามากกว่า 1 ปีคำนวณที่ 1 ปี ถ้าระยะเวลาที่ขอวีซ่าน้อยกว่า 1 ปีให้คำนวณตามอัตราค่าครองชีพต่อ 1 ปี หารด้วย 365 วัน
และคำนวณตามระยะเวลาที่ขอวีซ่าจริง
- กรณีลงเรียน น้อยกว่า 10 เดือน วีซ่าจะบวก 1 เดือนหลังจากเรียนจบ
- กรณีลงเรียน 10 เดือนขึ้นไป วีซ่าจะบวก 2 เดือนหลังจากเรียนจบ
- กรณีลงเรียน 10 เดือนขึ้นไป และวันที่เรียนจบอยู่ในเดือน พ.ย. หรือ ธ.ค. วีซ่าจะบวกไปถึง 15 มี.ค. ปีถัดไป
2. ค่าเดินทาง AUD $1,000 – $3,000 ขึ้นอยู่กับประเทศต้นทาง ตัวอย่างประเทศไทย คิดค่าใช้จ่าย AUD $2,000
3. ค่าเรียนที่ยังค้างชำระของการเรียนปีแรก
ค่าครองชีพในออสเตรเลีย 1 ปี (Update: 10 May 2024 by DHA Australia)
-
สำหรับวีซ่านักเรียน (ผู้สมัครหลัก) = AUD 29,710 ต่อปี
-
สำหรับคู่สมรส (วีซ่าติดตาม) = AUD 10,394 ต่อปี
-
สำหรับบุตร 1 คน (วีซ่าติดตาม) = AUD 4,449 ต่อปี
-
เพิ่มเติม บุตรที่มีอายุระหว่าง 5 – 17 ปี ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเล่าเรียนในโรงเรียน อย่างน้อย AUD 13,502 ต่อปี ยกเว้นผู้สมัครหลักเรียนหลักสูตรปริญญาเอก บุตรจะได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน
-
เอกสารการเงินต้องมียอดเงินเพียงพอ และเป็นการเงินที่มีสภาพคล่อง ผันแปรเป็นเงินสดได้ทันที และเบิกถอนได้จริง
Sufficient + Liquidation + Accessible หลักฐานที่แสดงว่าผู้สมัครวีซ่าและสมาชิกครอบครัวที่ยื่นวีซ่าติดตาม (ถ้ามี)
สามารถเข้าถึงเงินทุนก้อนนั้นได้จริงในขณะที่อาศัยอยู่ออสเตรเลีย เช่น ความน่าเชื่อถือของเจ้าของเงิน อาจเป็นพ่อแม่ หรือญาติสนิทจะมีความน่าเชื่อถือว่า ถ้าเป็นแค่คนรู้จัก เจ้าหน้าที่อาจมองว่าไม่มีเหตุผลน่าเชื่อถือมากพอที่จะคนรู้จักจะยินดีให้ทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายให้ผู้สมัคร
หมายเหตุ : กรณีผู้สมัครยื่นวีซ่ารอบ 2 ต่อวีซ่าที่ออสเตรเลีย ควรแสดงหลักฐานว่านักเรียนสามารถเข้าถึงเงินบัญชีนั้น เช่น มีการโอนเงิน หรือใช้เงินจากสปอนเซอร์จริงๆ ในการเรียนหลักสูตรก่อนหน้านี้ที่ออสเตรเลีย ยกตัวอย่าง สปอนเซอร์ เป็นคุณอา ใช้ใบฝากเงินเข้าบัญชีนักเรียนที่เมืองไทย นักเรียนใช้บัตรเดบิตถอนเงินสดใช้ที่ออสเตรเลีย ให้แนบใบฝากเงิน สำเนาสมุดบัญชีหรือ Statement นักเรียน สำเนาบัตรเดบิต สลิปที่กดเงินใช้ เป็นหลักฐาน เป็นต้น
เอกสารทางการเงินที่ใช้ยื่นวีซ่า
-
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ - Statement บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ย้อนหลัง 6 เดือน สามารถยื่นได้ทั้งเงินฝากออมทรัพย์บัญชีธนาคารพาณิชย์และสหกรณ์ที่ได้รับการรับรองของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
-
ยอดเงินคงเหลือที่ต้องโชว์ใน Statement ต่างกันตามหลักสูตรของนักเรียนแต่ละคน ค่าเรียน และระยะเวลาวีซ่า เช่น ผู้สมัครวีซ่านักเรียน 1คน ยกตัวอย่างนักเรียนที่ลงเรียนหลักสูตร 6 เดือน ค่าเรียน $7000 ดังนั้นต้องยื่นขอวีซ่าเพื่อเรียน 7 เดือน
-
คำนวนดังนี้ ค่าครองชีพ สำหรับ 7 เดือน ประมาณ $17,332 (คำนวณจากค่าครองชีพ 29,710 ต่อปี เฉลี่ยประมาณ $2476 ต่อเดือนx 7 เดือน) ค่าเรียนทั้งหมด $7,000 (ชำระค่าเรียนก่อนยื่นวีซ่าแล้ว $3,500 คงเหลือที่ต้องชำระเพิ่ม $3,500) ค่าเดินทางไปกลับออสเตรเลีย ประมาณ $2,000
-
รวม ค่าครองชีพ 7 เดือน $17,332 + ค่าเรียนที่ยังค้างชำระ $3,500 + ค่าเดินทาง $2,000 = $22,832 x rate 25 = 570,800 บาท
-
ดังนั้น ผู้สมัครควรต้องมีเอกสารการเงินขั้นต่ำ AUD $22,832 (ประมาณ 570,800 บาท คำนวณจากค่าใช้จ่ายข้างต้น สมมติอัตราแลกเปลี่ยน AUD $1 = 25 บาท)
-
กรณีเดียวกัน หากผู้สมัครชำระค่าเทอมเต็มจำวน $7,000 ผู้สมัครสามารถยื่นหลักฐานการเงินยอดลดลง AUD $22,832 (ประมาณ 483,300 บาท คำนวณจากค่าใช้จ่ายข้างต้น สมมติอัตราแลกเปลี่ยน AUD $1 = 25 บาท)
-
คำนวนจากค่าครองชีพ 7 เดือน $17,332 + ค่าเรียนที่ยังค้างชำระ $0 + ค่าเดินทาง $2,000 = $19,332 x rate 25 = 483,300 บาท
-
-
ยอดเงินอาจมีการปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานค่าครองชีพที่กำหนดในแต่ละปี และผันแปรตามอัตราแลกเปลี่ยน
-
ในทางปฏิบัติ แนะนำให้คูณอัตราแลกเปลี่ยนบวกเพิ่ม 1-2 บาท จากอัตราแลกเปลี่ยนธนาคาร ณ วันที่ขอเอกสาร เนื่องจากบางครั้งระยะเวลารอวีซ่านาน
-
ค่าเงินมีความผันผวน อาจมีกรณีที่เจ้าหน้าที่คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่พิจารณาผลวีซ่า
-
กรณีลงเรียนมากกว่า 1 ปี คำนวณยอดเงิน Statement จากค่าครองชีพล่วงหน้า 1 ปี
-
เงินในบัญชีสามารถเคลื่อนไหว ฝากเพิ่ม ถอนใช้จ่ายได้ แต่ยอดเงินคงเหลือเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือน ควรใกล้เคียงกับยอดเงินสุดท้ายที่ต้องใช้โชว์มากที่สุด ตัวอย่างเคสที่มีปัญหา เช่น ยอดเงินคงเหลือก่อนยื่นวีซ่า 8 แสน แต่ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา มีเงินก้อนฝากเข้า แล้วถอนหมดบัญชี เหลือหมื่นบาท ยอดเงินเคลื่อนไหวมาก ขึ้น ๆ ลง ๆ ต่างกันมาก อาจมีปัญหา คือ ฝากเข้า ถอนออกได้ แต่ต้องดูว่ามีความมั่นคงทางการเงิน บางเคสโดนปฏิเสธวีซ่า ทั้งที่ยอดเงินโชว์ 1 ล้านบาท แต่ในรอบ 6 เดือนก่อน เคยมีการถอนเงินหมดบัญชีหลายครั้ง
-
เอกสารจากธนาคาร ตรงหัวจดหมาย Statement ข้อมูลเจ้าของบัญชีด้านบน บางธนาคารจะแจ้งเป็นภาษาไทย ตามฐานข้อมูลที่เปิดบัญชี
-
เพราะเป็นแบบฟอร์ม ซึ่งบางธนาคารแก้ไขไม่ได้ แนะนำให้แนบหลักฐานแปลสมุดบัญชีหน้าแรก สะกดชื่อเจ้าของบัญชีตามบัตรประชาชนหรือหน้าพาสปอร์ต
-
กรณีมีเงินก้อนใหญ่ ฝากเข้ามาก่อนยื่นวีซ่าไม่นาน (sudden fund) ซึ่งเป็นยอดที่ผิดปกติจากการฝากเข้า-ถอนออกโดยปกติของบัญชีนั้นๆต้องชี้แจงที่มาของเงินก้อนนั้น เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่มองว่าเป็นการตกแต่งบัญชี กู้ยืมเงินมา เช่น กรณีขายที่ดิน ต้องแนบสัญญาซื้อขายที่ดินที่กรมที่ดิน ใบเสียภาษี สำเนาโฉนดทุกหน้า
-
ที่มาของเงิน ได้รับค่าจ้างจากการทำงาน ค่านายหน้า ต้องแสดงหนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย
-
ที่มาของเงิน กรณีขายรถยนต์ จะใช้เอกสารซื้อขายโอนลอยที่เต็นท์รถออกให้ไม่ได้ ต้องแนบสมุดทะเบียนรถที่เคยมีชื่อเราเป็นเจ้าของและโอนให้เจ้าของใหม่ พร้อมสัญญาซื้อขาย
-
ที่มาของเงิน กรณีขายทองรูปพรรณ ใช้ใบเสร็จจากร้านทองไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานการถือครองทองรูปพรรณ หลักฐานที่ใช้ได้เฉพาะกรณีขายผ่านบริษัทที่มีหลักฐานการซื้อขายชัดเจน เช่นการซื้อขายทองคำแท่งที่มีหลักฐานจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ หรือเงินได้จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าประเภทโลหะมีค่าในตลาด TFEX แห่งประเทศไทย
-
ที่มาของเงิน กรณีขายหุ้น หรือกองทุน ต้องใช้หลักฐานการขาย
-
ที่มาของเงิน กรณีได้รับเงินโบนัส ต้องแนบสลิปเงินเดือน
-
ที่มาของเงิน กรณีโอนเงินจากบัญชีอื่นๆ ของตนเองมารวมเป็นหนึ่งบัญชี ต้องแนบหลักฐาน สเตทเม้นจากบัญชีต้นทาง และอธิบายรายละเอียด
-
-
กรณีทำอาชีพที่มีรายรับเป็นรายปี เช่นทำการเกษตร เก็บเกี่ยวผลผลิตปีละครั้ง แนะนำว่าให้ขอเอกสารการเงิน Statement ย้อนหลัง 1 ปีหรือนานกว่านั้น เพื่อชี้แจงว่ารายรับที่เข้ามาเป็นรายรับจากการทำงานปกติ ไม่ใช่เป็นเงินก้อนที่ฝากเข้ามาไม่นาน (sudden fund) ที่ใช้ตกแต่งบัญชีเพื่อขอวีซ่าจะทำให้เอกสารน่าเชื่อถือมากขึ้น
-
สลากออมสิน / สลาก ธกส / สลาก ธอส ที่ซื้อมามานานกว่า 6 เดือน สามารถใช้ยื่นเป็นเอกสารการเงินได้
-
โดยต้องไปจดหมายรับรองจากทางธนาคารฉบับภาษาอังกฤษ กับสำเนาสลาก (สลากหลายใบ รวมยอดเงินกันได้)
-
เงินฝากสหกรณ์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น สหกรณ์ครู สหกรณ์ของรัฐวิสาหกิจ ใช้ยื่นเป็นเอกสารการเงินได้ ต้องเป็นยอดเงินฝากเท่านั้น
-
มูลค่าหุ้นในสหกรณ์ไม่นับเป็นยอดเงินสำหรับสปอนเซอร์วีซ่านักเรียน
-
บัญชีกระแสรายวัน (จะไม่มีสมุดบัญชี) ต้องขอ Statement จากทางธนาคาร และต้องขอหนังสือรับรองเพื่อชี้แจงยอดเงินคงเหลือว่ามีวงเงินที่ยังใช้ได้ OD จำนวนเท่าไหร่
-
บัญชีฝากประจำ สามารถใช้ได้ แต่เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหว ธนาคารจึงไม่มี Statement ให้ ให้ถ่ายสำเนาสมุดบัญชีทุกหน้า
-
พร้อมขอหนังสือรับรองฐานะทางการเงินจากธนาคาร (ต้องเป็นบัญชีฝากประจำที่เปิดมานานมากว่า 6 เดือน กรณีเพิ่งเปิดบัญชีไม่นาน เพราะย้ายมาจากฝากประจำเล่มอื่น ให้แนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีกับรายการเดินบัญชีเล่มเก่าคู่กัน เพื่อชี้แจงที่มาการเงิน)
-
หลักฐานเงินกู้สามารถใช้ได้ ต้องเป็นเงินกู้จากหน่วยงานของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ระบุวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
การขอหนังสือรับรองฐานะทางการเงิน / แบงค์การันตี / หนังสือรับรองบัญชี
-
ต้องแจ้งวัตถุประสงค์เพื่อการขอวีซ่าออสเตรเลีย / ระบุจำนวนเงินชัดเจนเป็นสกุลเงินออสเตรเลีย Australian Dollar (ธนาคารบางแห่งเช่น SCB จะระบุแค่ มีเงิน 7 หลัก แบบนี้ใช้ไม่ได้ ต้องให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ยอดเงินเพิ่มเติมตรง Remark)
-
หลักฐานจากธนาคาร มีอายุ 30 วัน นับจากวันที่ธนาคารออกเอกสารให้
-
สะกดชื่อ-นามสกุล ผู้สมัครให้ตรงกับหน้า Passport เท่านั้น (ควรนำสำเนา Passport นักเรียนไปธนาคารด้วย)
เอกสารของสปอนเซอร์การเงิน
1. หลักฐาน บัตรประชาชน หรือ Passport ของสปอนเซอร์ชื่อเจ้าของบัญชี เช่น คุณแม่เป็นสปอนเซอร์ สมมติ คุณแม่ไม่มี Passport
ให้ใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐาน โดยให้ธนาคารสะกดชื่อเจ้าของบัญชี (คุณแม่) ให้ตรงกับชื่อภาษาอังกฤษในบัตรประชาชน
2. เอกสารความสัมพันธ์ของสปอนเซอร์ และผู้สมัคร เช่น สปอนเซอร์ เป็นคุณอาผู้ชายของผู้สมัค ใช้เอกสารคือทะเบียนบ้านผู้สมัคร ทะเบียนบ้านพ่อของผู้สมัครและทะเบียนบ้านของคุณอา
อธิบายดังนี้ - ในทะเบียนบ้านนักเรียน จะระบุชื่อ บิดา มารดา และทะเบียนบ้านของพ่อจะระบุชื่อบิดา มารดา ซึ่งก็คือ คุณปู่ คุณย่า ของผู้สมัคร และทะเบียนบ้านคุณอาจะระบุชื่อบิดา มารดา ซึ่งกือคุณปู่ คุณย่าของผู้สมัคร ดังนั้นสปอนเซอร์การเงินกับนักเรียนผู้สมัครใช้คนละนามสกุลได้ อยู่คนละบ้านได้ ทะเบียนบ้านเป็นเพียงหลักฐานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ลำดับญาติเท่านั้น
3. ที่มาของการเงินของสปอนเซอร์ – อาชีพ การงาน เช่น สลิปเงินเดือน จดหมายรับรองงาน บัตรข้าราชการ ใบเสียภาษี ทะเบียนการค้า ทะเบียนเกษตรกร ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น ใบอนุญาตทนาย
4. จดหมายสปอนเซอร์ (ทาง AdWise มีแบบฟอร์มให้) + กรอกที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และให้สปอนเซอร์เซ็น
5. หลักฐานที่สามารถยื่นเพิ่มเติม เพื่อแสดงถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงิน และทำให้น่าเชื่อถือว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะกลับมายังประเทศไทย เช่น กองทุนรวม / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / หุ้นสหกรณ์ / หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ / ทรัพย์สินดิจิตัล / ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ติดจำนอง / พันธบัตรรัฐบาล / เล่มทะเบียนรถยนต์ไม่ติดไฟแนนซ์ / ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ หลักฐานเล่านี้ไม่นับรวมเป็นยอดเงินของเอกสารการเงิน แต่สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ใช้แนบเพิ่มเติม มีประโยชน์ต่อการพิจารณาวีซ่ามากขึ้น จัดเป็นเอกสารหัวข้อ GS ได้
6. กรณีสปอนเซอร์เป็นนายจ้าง ควรเป็นรูปแบบบริษัทฯ และมีเอกสารแนบชี้แจงขั้นตอนการให้ทุนการศึกษา สัญญาใช้ทุน เอกสารควรเป็นเอกสารที่ทางการ เช่นมีการร่างสัญญาโดยทนายอย่างชัดเจน ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ได้รับทุน จดหมายเซ็นยินยอมจากกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นทั้งหมด
*เอกสารการเงิน - หัวข้อ How to access fund
-
หัวข้อนี้ทางเจ้าหน้าที่ต้องการมั่นใจว่าเอกสารการเงินที่นำมายื่นวีซ่านั้น เมื่อนักเรียนต้องใช้จ่ายค่าเรียน ค่าครองชีพ นักเรียนจะสามารถเข้าถึงแหล่งการเงินนี้ได้จริง ดังนั้นเอกสารหัวข้อนี้จึงไม่มีรูปแบบเอกสารที่แน่นอนเหมือนหลักฐานการเงินจากธนาคาร เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากภาพรวมของนักเรียน และหลักฐานที่ยื่น
-
ยกตัวอย่างเคส เช่น กรณีที่ผู้สปอนเซอร์การเงินเป็นญาติห่างๆกับนักเรียน พี่เขย ของลูกพี่ลูกน้อง โดยพี่พี่เขยก็มีครอบครัว และมีลูกที่อยู่ในวัยกำลังศึกษาต่อ ความสัมพันธ์แบบญาติห่างๆ เจ้าหน้าที่อาจมองว่าเป็นการนำเอกสารมายื่นเพื่อวัตถุประสงค์วีซ่าเท่านั้น เมื่อถึงเวลาต้องชำระค่าเรียน หรือค่าครองชีพ สปอนเซอร์จะไม่โอนเงินให้นักเรียนจริงๆ เพราะไม่เชื่อความเป็นญาติห่างๆ จะมีเหตุผลอะไรที่มีน้ำหนักมากเพียงพอที่จะส่งเสียให้นักเรียนคนนี้เรียนต่างประเทศจริง
-
เอกสารที่ทาง AdWise แนะนำเพิ่มเติมสำหรับแต่ละเคสจะต่างกันไป เพราะเราจะเน้นที่เอกสารข้อเท็จริงของผู้สมัครเป็นหลัก ไม่แนะนำให้ทำเอกสารเท็จเด็ดขาด จากเคสตัวอย่าง เอกสารที่ยืนยันเพิ่มเติม เช่น หลักฐานการโอนเงินชำระค่าเรียนไปยังสถาบันโดยตรงจากสปอนเซอร์ หลักฐานการส่งเสียเลี้ยงดูที่ผ่านมา ประวัติการโอนเงินให้ใช้จ่าย การโอนเงินเปิดบัญชีให้นักเรียนเพื่อใช้จ่ายโดยตรง หรือในบางกรณีเป็นญาติห่างๆ ในทางหลักฐานเอกสาร แต่ในชีวิตประจำวันคือสนิทสนมส่งเสียเลี้ยงดูกันมาตั้งแต่เด็กเหมือนลูกแท้ๆ อาจใช้หลักฐานเพิ่มเติม เช่น พักอาศัยบ้านเดียวกัน ชื่อผู้ปกครองในสมุดผลการเรียนของนักเรียน หลักฐานการเป็นผู้รับผลประโยชน์จากประกันชีวิต เป็นต้น
หมายเหตุสำคัญ :
-
เอกสารทุกอย่างสามารถเซ็นรับรองสำเนาได้แต่ห้ามขีดทับเด็ดขาด
-
เอกสารที่เป็นภาษาไทยทุกอย่าง ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ
-
เอกสารของทางราชการ เช่น ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ใบเกิด ใบมรณะ
-
สามารถขอคัดสำเนาฉบับภาษาอังกฤษได้ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
-
เมื่อได้รับวีซ่าแล้ว ควรตรวจสอบรายละเอียด ชื่อ นามสกุล คำนำหน้า เลขที่พาสปอร์ตทุกครั้ง
-
ถ้าสะกดไม่ตรง จะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้
-
หากเปลี่ยนพาสปอร์ต ต้องแจ้งทาง AdWise ทุกครั้ง เพื่ออัพเดทพาสปอร์ตกับระบบอิมมิเกรชั่น บริการฟรี ตลอดระเวลาของการเรียน
Related Links