ภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ ของประเทศสหรัฐอเมริกา
สหรัฐแผ่นดินใหญ่มีพื้นที่ 7,663,940.6 ตารางกิโลเมตร รัฐอะแลสกา ซึ่งมีประเทศแคนาดาคั่นสหรัฐแผ่นดินใหญ่ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีขนาด 1,717,856.2 ตารางกิโลเมตร รัฐฮาวายซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 28,311 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่มีประชากรอาศัยของสหรัฐ ได้แก่ ปวยร์โตรีโก อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและหมู่เกาะเวอร์จินรวมมีพื้นที่ 23,789 ตารางกิโลเมตร
-
ทิศเหนือ ติดกับ ประเทศแคนาดา
-
ทิศตะวันออก ติดกับ ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค
-
ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
-
ทิศใต้ ติดกับ ประเทศเม็กซิโกและอ่าวเม็กซิโก
สหรัฐเป็นประเทศใหญ่สุดอันดับสามหรือสี่ของโลกเรียงตามพื้นที่ทั้งหมด (แผ่นดินและผืนน้ำ)รองจากประเทศรัสเซียและแคนาดา
ที่ราบชายฝั่งทะเลแอตแลนติกให้ก่อให้เกิดป่าผลัดใบลึกเข้าไปในแผ่นดินและรอยคลื่นพีดมอนต์ (Piedmont) เทือกเขาแอปพาเลเชียนแบ่งชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเกรตเลกส์และทุ่งหญ้าภาคกลางตะวันตก (Midwest) แม่น้ำมิสซิสซิปปี–มิสซูรี ระบบแม่น้ำยาวที่สุดอันดับสี่ของโลก ไหลส่วนใหญ่ในทิศเหนือ–ใต้ผ่านใจกลางประเทศ ที่ราบใหญ่ (Great Plains) ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าราบอุดมสมบูรณ์แผ่ขยายไปทางทิศตะวันตก โดยมีพื้นที่สูงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขวาง
เทือกเขาร็อกกี ณ ขอบทิศตะวันตกของที่ราบใหญ่ แผ่ขยายข้ามประเทศจากเหนือจรดใต้ มีระดับความสูงกว่า 4,300 เมตร ในรัฐโคโลราโด ไปอีกทางทิศตะวันตกเป็นแอ่งใหญ่ (Great Basin) หิน และทะเลทราย เช่น ทะเลทรายชิฮัวฮวนและโมฮาวี เทือกเขาเซียร์ราเนวาดาและแคสเคด (Cascade) ทอดใกล้กับชายฝั่งแปซิฟิก เทือกเขาทั้งสองนี้มีระดับความสูงกว่า 4,300 เมตร จุดต่ำสุดและสูงสุดในสหรัฐแผ่นดินใหญ่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และห่างกัน 135 กิโลเมตร[209] ที่ระดับความสูง 6,194 เมตร ยอดเขาเดนาลี (ยอดเขาแม็กคินเลย์) ในรัฐอะแลสกาเป็นยอดเขาสูงสุดในประเทศและในทวีปอเมริกาเหนือ ภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่มีทั่วไปตลอดกลุ่มเกาะอะเล็กซานเดอร์และหมู่เกาะอะลูเชียนในรัฐอะแลสกา และรัฐฮาวายประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ ภูเขาไฟใหญ่ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในเทือกเขาร็อกกี เป็นลักษณะภูเขาไฟใหญ่สุดของทวีปอเมริกาเหนือ
เนื่องจากสหรัฐมีขนาดใหญ่และความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ จึงมีลักษณะอากาศหลายชนิด ทางตะวันออกของเส้นเมอริเดียนที่ 100 ลักษณะอากาศมีตั้งแต่ภาคพื้นทวีปชื้นทางเหนือถึงกึ่งเขตร้อนชื้นทางใต้ ที่ราบใหญ่ทางตะวันตกของเส้นเมอริเดียนที่ 100 เป็นกึ่งแห้งแล้ง เขาทางตะวันตกส่วนใหญ่มีลักษณะอากาศแบบแอลป์ ลักษณะอากาศเป็นแบบแห้งแล้งในแอ่งใหญ่ ทะเลทรายในภาคตะวันตกเฉียงใต้ เมดิเตอร์เรเนียนในรัฐแคลิฟอร์เนียชายฝั่ง และภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรในชายฝั่งรัฐออริกอนและรัฐวอชิงตัน และทางใต้ของรัฐอะแลสกา รัฐอะแลสกาส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอาร์กติกหรือขั้วโลก รัฐฮาวายและปลายใต้สุดของรัฐฟลอริดามีลักษณะอากาศแบบเขตร้อน เช่นเดียวกับดินแดนที่มีประชากรอยู่อาศัยในทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศสุดโต่งเป็นเรื่องไม่แปลก ในรัฐที่ติดอ่าวเม็กซิโกที่มีความเสี่ยงเกิดพายุเฮอร์ริเคน และทอร์เนโดส่วนใหญ่ของโลกเกิดในประเทศนี้ โดยเกิดในบริเวณตรอกทอร์เนโดแถบตะวันตกกลางและภาคใต้เป็นหลัก
ภูมิอากาศ
สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ และความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ทางตะวันออกมีประเภทภูมิอากาศมีตั้งแต่อบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปทางตอนเหนือ ไปจนถึงอบอุ่นชื้นทางตอนใต้ ปลายด้านใต้สุดของรัฐฟลอริดามีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน เช่นเดียวกับรัฐฮาวาย เกรดเพลน ทางตะวันตกมีลักษณะกึ่งแห้งแล้ง พื้นที่ภูเขาทางตะวันตกส่วนใหญ่มีภูมิอากาศแบบที่สูง แห้งแล้งในเกรตเบซิน ทะเลทรายในทางตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนีย และภูมิอากาศแบบมหาสมุทรในรัฐออริกอน รัฐวอชิงตันและรัฐอะแลสกาตอนใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐอะแลสกามีภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือขั้วโลก รัฐที่อยู่ติดกับอ่าวเม็กซิโกมักจะมีสภาพอากาศแบบสุดขั้ว โดยมีเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศซึ่งเกิดทอร์นาโดบ่อยที่สุดในโลก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งได้ชื่อว่า ตรอกทอร์นาโด ในมิดเวสต์
ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา มี 4 ฤดู อุณหภูมิในแต่ละรัฐจะแตกต่างกันออกไป
-
ฤดูใบไม้ผลิ เริ่ม มีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 9-23 องศาเซลเซียส
-
ฤดูร้อน เริ่ม มิถุนายน – สิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 20-34 องศาเซลเซียส
-
ฤดูใบไม้ร่วง เริ่มกันยายน – พฤศจิกายน อุณหภูมิเฉลี่ย 7-25 องศาเซลเซียส
-
ฤดูหนาว เริ่มธันวาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย -12 ถึง - 8 องศาเซลเซียส
ที่มา : wikipedia